ที่มาและความสำคัญของโครงการ
ปัจจุบันการกระจายสินค้าเพื่อส่งออกและนําเข้าจะผ่านท่าเรือในบริเวณพื้นที่ ดังกล่าว โดยในการปันส่งสินค้าไปยังประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย จะต้องส่งผ่านช่องแคบมะละกา และมีการถ่ายลําที่ประเทศสิงคโปร์หรือมาเลเซียก่อน ซึ่งมีปริมาณเรือสินค้าจํานวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทําให้เกิดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่มากขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลติดกับมหาสมุทร 2 ด้าน คือฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก และฝั่งอันดามันด้านตะวันตกติดกับมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งมีประตูการค้าในฝั่งอันดามันท่าเรือระนองเป็นท่าเรือตู้สินค้าซึ่งใช้เป็นประตูการค้าของไทยในการขนส่งสินค้าออกไปสู่มหาสมุทรอินเดียได้ มีขีดความสามารถในการรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ได้ในปัจจุบัน จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยนั้นมีความได้เปรียบทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์เป็นอย่างมาก จากลักษณะทางกายภาพที่สามารถเปิดเส้นทางการขนส่งสู่ทะเลทั้งสองด้าน นับเป็นโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากทําเลที่ตั้งดังกล่าว เพื่อนํามาพัฒนาเป็นเส้นทางทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเล เพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ดังนั้นหากสามารถพัฒนาให้เกิดการทุนส่งเชื่อมโยงระหว่างสองฝั่งทะเลเพื่อรองรับการพัฒนา EEC ก็จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ
เพื่อจัดทำแผน logistics ที่มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการลดต้นทุนด้าน logistics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า เชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับการค้าในพื้นที่ภาคใต้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคใต้ที่เชื่อมโยงสองฝั่งทะเล (อ่าวไทย-อันดามัน)
ขอบเขตของงาน
งานส่วนที่ 1 : ศึกษาทบทวนยุทธศาสตร์การค้าและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของการขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงสองฝั่งทะเล (อ่าวไทย-อันดามัน) โดยผ่านช่องแคบมะละกา รวมทั้งโครงการ Land Bridge ในภูมิภาค
งานส่วนที่ 2 : การจัดทำยุทธศาตร์ด้านโลจิสติกส์ เพื่อการเชื่อมต่อฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนอง
งานส่วนที่ 3 : การจัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมในพื้นที่ภาคใต้เชื่องโยงสองฝั่งทะเล จังหวัดระนอง
งานส่วนที่ 4 : งานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน
เป้าหมายในการพัฒนาโครงการ
ในการจัดทําแผนการจัดทําแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทุนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เvตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนอง เพื่อเป็นทางเลือกในการทนส่งสินค้า โดยเน้นการใช้กาsvuส่งสินค้าทางทะเลเป็นหลักซึ่งเป็นรูปแบบการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ โดยมีโครงข่ายทางถนนและรถไฟเชื่อมโยงต่อเนื่องในลักษณะระบบการทุนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อรองรับปริมาณการทุนส่งสินค้าดังนี้
1. การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศฝั่งมหาสมุทร
อินเดียโดยผ่านท่าเรือน้ําลึกระนอง
2. การขนส่งสินค้าภายในประเทศเชื่อมโยง
ท่าเรือฝั่งอ่าวไทย
นโยบายการพัฒนา
นโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก จะทำให้เกิดปริมาณการขนส่งสินค้าข้าออกพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งจะเป็นการขนส่งเพื่อการนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศไทยกับประเทศด้านฝั่งมหาสมุทรอินเดียนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) เป็นการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืนให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และสนับสนุนการชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งกระจายการพัฒนาจากพื้นที่เศรษฐกิจเดิมสู่พื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ทำให้เกิดปริมาณการขนส่งสินค้าเข้าออกพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้น
01 ลดต้นทุนและระยะเวลาในการทนส่งสินค้านําเข้าและส่งออก
ลดต้นทุนและระยะเวลาในการทนส่งสินค้านําเข้าและส่งออก ระหว่างพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC กับกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งการพัฒนานี้จะเป็นทางเลือกในการบนส่งสินค้าโดยไม่ต้องใช้เส้นทางอ้อม ผ่านช่องแคบมะละกา (สิงคโปร์) อันเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการและสนับสนุนส่งเสริม การพัฒนาพื้นที่เปตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ SEC ของประเทศ
02 ลดปริมาณการบนส่งสินค้าทางรถบรรทุก
ลดปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุก อันเนื่องมาจากการสนับสนุนให้ใช้ท่าเรือในพื้นที่ภาคใต้ เป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้าระหว่างพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC กับกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งการขนส่งต่อเนื่องไปยังประเทศมาเลเซียผ่านทางด่านศุลกากรสะเดา เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาถนน ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและการจราจรที่แออัด รวมถึงการลดปัญหามลพิษด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น
03 เป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ท่าเรือน้ําลึกระนอง
เป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ท่าเรือน้ําลึกระนอง ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านบริเวณท่าเรือน้อยมาก ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภท Offshore Supply ให้เป็นประตูการค้าในฝั่งอันดามันได้ตามวัตถุประสงค์ เพื่อรองรับการทุนส่งสินค้ากับประเทศไทยกับกลุ่มประเทศ BIMSTEC อันเป็นการเพิ่มบีดความสามารถของประเทศ
04 เพื่อรองรับและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC
เพื่อรองรับและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ซึ่งเป็นนโยบายที่สําคัญของรัฐบาลและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ SEC ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่